โปรแกรมล่องเรือดินเนอร์อันดับหนึ่งของสายน้ำเจ้าพระยา!!!
เราจะพาท่านล่องเรือสำราญลำใหญ่และดินเนอร์ในค่ำคืนอันแสนโรแมนติกสุดพิเศษพร้อมสัมผัสความงดงามของสองฝากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยโปรแกรมนี้จะเริ่มต้นที่
- ป้อมวิชัยประสิทธ์ หรือ ป้อมวิไชยเยนทร์ ตั้งชื่อตาม คอนสแตนติน ฟอลคอน หรือ เจ้าพระยาวิชเยนทร์ ซึ่งเป็นผู้ทูลแก่สมเด็จพระนารายณ์ให้สร้างป้อม ทั้งยังเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างเองอีกด้วย โดยมอบหมายให้ มองซิเออร์ เดอร์ ลา มาร์ นายช่างชาวฝรั่งเศสผู้มีบทบาทในการก่อสร้างป้อมปราการหลายแห่งสมัยสมเด็จพระนารายณ์เป็นผู้ออกแบบ ถูกสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2223 ในชื่อ ป้อมบางกอก หรือ ป้อมวิไชยเยนทร์ หากจำกันได้ในเรื่อง บุพเพสันนิวาส ป้อมแห่งนี้ถือว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก สร้างขึ้นเพื่อป้องกันข้าศึกรุกรานทางทะเล ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนา กรุงธนบุรี เป็นราชธานี ได้ทรงสร้างพระราชวังขึ้นบริเวณป้อมฝั่งตะวันตก พร้อมกับปรับปรุงป้อมและพระราชทานนามใหม่ว่า “ป้อมวิไชยประสิทธิ์”
- วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร วัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อราวพ.ศ. ๒๓๖๘ เป็นหนึ่งในวัดที่มีความงดงามซึ่งผสานศิลปกรรมไทย-จีน ไว้ได้อย่างลงตัว อีกทั้งยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงามทรงคุณค่าที่สะท้อนวิถีชีวิตในสมัยรัชกาลที่ 3 และเรื่องราวแห่งพุทธประวัติ นอกจากความโดดเด่นในการออกแบบแล้วภายในวัดยังเป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อโต หรือ พระพุทธไตรรัตนนายก ( รัชกาลที่ 4 ทรงพระราชทานนามไว้ ) เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยที่มีขนาดใหญ่และสวยงามที่สุดในกรุงเทพฯ ( องค์พระมีสีเหลืองทองอร่ามงดงาม ) หลวงพ่อโตเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงของชาวธนบุรี โดยเฉพาะในหมู่ชาวจีน เรียกชื่อแบบจีนว่า ซำปอฮุดกง หรือ ซำปอกง มีคติความเชื่อโด่งดังในเรื่องการขอพรให้เดินทางแคล้วคลาดปลอดภัย และมีมิตรไมตรีที่ดี
- พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร หรือ เรียกสั้นๆว่า พระปรางค์วัดอรุณฯ เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทย (หากสังเกตุภาพตราสัญลักษณ์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจะเห็นเป็นรูปพระปรางค์ ) ได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในสิบสถานที่ทางพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงที่สุดจากทัวร์โอเปีย
- วัดอรุณราชวรารามเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๒ แต่เดิมเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดมะกอก (เรียกตามชื่อตำบลที่ตั้ง) เล่ากันว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระราชประสงค์จะย้ายราชธานีใหม่มายังกรุงธนบุรี พระองค์จึงเสด็จทางชลมารค ล่องตามแม่น้ำเจ้าพระยาเรื่อยมาจนถึงหน้าวัดมะกอกเมื่อรุ่งแจ้งพอดี ครานั้นจึงมีพระราชดำริว่า นับเป็นมงคลมหาฤกษ์นัก ครั้นแล้วจึงเสด็จขึ้นจากเรือพระที่นั่งไปถวายสักการะพระเจดีย์ (พระปรางค์องค์เก่า) ครั้นต่อมาโปรดฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัด แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า วัดแจ้งเพื่อระลึกถึงมงคลมหาฤกษ์ครั้งนั้น
- วัดแจ้งได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมาตามลำดับ จนกระทั่งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้รับพระราชทานนามใหม่ตามนัยความหมายเดิมว่า “วัดอรุณราชวราราม” ตัวพระปรางค์ปัจจุบันนี้มิใช่พระปรางค์เดิม ที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่มีความสูงเพียง 16 เมตร โดยพระปรางค์ปัจจุบันนี้ถูกบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมาและสร้างขึ้นแทน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในปี พ.ศ. 2363 แต่ก็ได้แค่รื้อพระปรางค์องค์เดิม และขุดดินวางราก ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการสร้างต่อ โดยพระองค์เสด็จมาวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2385 จนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2394 ใช้เวลารวมกว่า 9 ปี พระปรางค์วัดอรุณฯ ได้รับการบูรณะเสมอมา จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทำการบูรณะพระปรางค์ครั้งใหญ่ ซึ่งก็คือแบบที่เห็นในปัจจุบัน
- พระบรมมหาราชวัง หรือ พระราชวังพระนคร เป็นศูนย์กลางการปกครองของประเทศและเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2325 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาและโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังหลวงขึ้นเพื่อเป็นการก่อสร้างพระราชวังหลวงเริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างพระนครเมื่อ พ.ศ. 2325
- พระที่นั่งสันติชัยปราการ พระที่นั่งสันติชัยปราการสร้างขึ้นตอนเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 โดยสร้างตอนที่ปรับปรุงภูมิทัศน์ของป้อมพระสุเมรุโดยพระที่นั่งองค์นี้ใช้เป็นสถานทีประกอบงานพระราชพิธีทางกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคพระที่นั่งองค์นี้มีตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติมาประดับไว้ พร้อมกับท่ารับเสด็จขึ้นลงเรือพระที่นั่ง เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นที่จัดพระราชประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันพระที่นั่งองค์นี้อยู่ในการดูแลของกรมศิลปากร
- สะพานพระราม 8 เป็นหนึ่งในสะพานที่มีความสวยงามทางสถาปัตยกรรมในแบบไทยที่สวยงามที่สุด เปิดให้ใช้ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 เวลา 7:00 น. สะพานนี้เกิดจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งที่เสด็จทรงเยี่ยมพระอาการประชวรของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระองค์ทอดพระเนตรเห็นถึงปัญหาการจราจรของสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 โปรดเกล้าฯ ให้กรุงเทพมหานครก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มอีก 1 แห่ง เพื่อบรรเทาการจราจรบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้ารองรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี และเป็นจุดเชื่อมต่อโครงการพระราชดำริตามแนวจตุรทิศ และยังทรงสร้างเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร กรุงเทพมหานครจึงได้อัญเชิญ “พระราชลัญจกร” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์ มาเป็นต้นแบบในการออกแบบทางสถาปัตยกรรม
การออกแบบกำหนดทิศทางของสะพานและพระบรมราชานุสรณ์ ได้ออกแบบให้สัมพันธ์กับวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ในวันที่ 21 และ 22 ธันวาคม ของทุกปี โดยในเวลาเช้ามืดดวงอาทิตย์โผล่เด่นพ้นขอบฟ้าขึ้นตรงเส้นกลางถนนบนสะพานด้านทิศตะวันออก และขึ้นตรงหน้าพระบรมราชานุสรณ์ เสมือนเป็นมาตรที่บ่งบอกทิศทางการโคจรเป็นวงรี วกกลับของดวงอาทิตย์เมื่อเทียบในระนาบ 2 มิติตามวิถีคิดในอดีตกาล ปลายยอดเสาสูงของตัวสะพานจะมีจุดชมทิวทัศน์ ซึ่งมีโครงสร้างโลหะกรุกระจก ลักษณะคล้ายดอกบัว สูงจากพื้นดินถึง 165 เมตร หรือสูงเท่าตึก 60 ชั้น พื้นที่ 35 ตารางเมตร จุคนได้ครั้งละเกือบ 50 คน
Reviews
There are no reviews yet.